นักลงทุนสัมพันธ์
การกำกับดูแลกิจการ

News & Events

ข่าวสารและกิจกรรม

ข่าวสาร

ค้นหา :
ปี :
Preview
เอ็มเทค สวทช. และ สวรส. ร่วมมือกับไทยวาโก้ เปิดตัวนวัตกรรมชุดบอดี้สูท “เรเชล (Rachel)” นวัตกรรมสำหรับสังคมอายุยืน ช่วยในการเคลื่อนไหวและป้องกันการบาดเจ็บ

วันที่ 7 มีนาคม 2567 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) เปิดตัวนวัตกรรมชุดบอดีสูท “เรเชล (Rachel)” โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อสังคมอายุยืน

“เรเชล (Rachel)” ชุดบอดีสูทสำหรับผู้สูงอายุ ออกแบบ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุที่ยังสามารถดูแลตัวเองได้ สวมใส่ได้ตลอดวัน ช่วยให้เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมีการเสริมแรงด้วยวัสดุผ้าที่มีคุณสมบัติและการตัดเย็บโดยเฉพาะ เพื่อการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นตัวช่วยผู้สูงอายุในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการลุกขึ้นยืน ยกของ เดินขึ้นบันได ทำงานบ้าน เป็นต้น คณะวิจัยได้พัฒนานวัตกรรมและทดสอบด้านประสิทธิภาพให้พร้อมต่อการใช้งานแล้ว

เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในเพื่อผู้บริโภคทุกช่วงวัย และให้ความสำคัญติดตามการเปลี่ยงแปลงโครงสร้างของประชากรอย่างต่อเนื่อง จึงได้ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดบอดีสูทสำหรับผู้สูงอายุให้มีการใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้างสำหรับประชากรไทย ด้วยความเชี่ยวชาญ ความรู้ และประสบการณ์ด้านวัตถุดิบและการตัดเย็บของบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) ผนวกกับความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสวมใส่ (Wearable Technologies) ของทีมนักวิจัยของเอ็มเทค สวทช. และความเชี่ยวชาญในการสร้างแพทเทิร์นและตัดเย็บจากสถาบันพัฒนาแพทเทิร์นอุตสาหกรรมและการออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูป ทำให้ชุดบอดีสูทเรเชลมีสมบัติทางกลศาสตร์ที่เหมาะสมในการเคลื่อนไหว และยังมีน้ำหนักเบา ระบายเหงื่อได้ดีสามารถใส่ได้ทั้งวันและทุกๆ วันสำหรับกิจกรรมทั้งในบ้านและนอกบ้าน

โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ให้การสนับสนุนทุนวิจัยกับ เอ็มเทค สวทช. เพื่อดำเนินโครงการวิจัยปรับปรุงประสิทธิภาพของชุดสวมใส่ เพื่อพยุงกล้ามเนื้อและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสำหรับผู้สูงอายุ ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ตลอดจนลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวต่างๆ ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าว สวรส. วางแผนจะพัฒนาไปสู่การขยายผลในระบบสุขภาพ โดยคาดว่าจะพัฒนาเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยสิทธิ์บัตรทอง เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในวงกว้างต่อไป

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.thecoverage.info/news/content/6364

Preview
ไทยวาโก้ ร่วมกับ 25 องค์กรชั้นนำของประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวการประกาศความสำเร็จ ของ บพข. - วีกรีน และ สมอ. ในการผลักดันบริษัทนำร่อง ผ่านมาตรฐาน CEMS ครั้งแรกของประเทศ

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 บมจ. ไทยวาโก้ หนึ่งใน 26 องค์กรนำร่องในโครงการพัฒนาระบบการตรวจสอบและรับรองระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนองค์กรเพื่อผลักดันนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน ร่วมงานแถลงข่าว “CIRCULAR ECONOMY: From Policy to Practice for Business Organizations” การประกาศความสำเร็จในการผลักดัน 26 บริษัทแรก ให้สามารถผ่านมาตรฐานระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนองค์กร หรือ Circular Economy Management System (CEMS) และได้พัฒนาหน่วยตรวจรับรองและบุคลากรตรวจประเมินด้านการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับองค์กรกว่า 500 คน โดย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ (วีกรีน) ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (สมอ.) ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

Preview
บมจ. ไทยวาโก้ และ บจก. มอร์ลูป ลงนามความร่วมมือสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผ้าเหลือใช้จากการผลิตตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

เมื่อวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2567 “บมจ.ไทยวาโก้ และบจก.มอร์ลูป” ได้ลงนามความร่วมมือสนับสนุนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผ้าเหลือใช้จากการผลิตตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

โดย moreloop จะเป็นพื้นที่ตัวกลางในการเสาะหาและจับคู่ materials ผ้าชั้นดีที่เหลือจากกระบวนการผลิตของโรงงาน มาขายต่อให้กับกลุ่มคนที่จะนำไปแปรรูปใช้งานต่อไป เป็นธุรกิจที่ผสมผสานหลักการสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน ก็ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างแพลตฟอร์มของตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม

ไทยวาโก้ มีกรอบการทำงานทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นด้านการจัดการทรัพยากรอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้มีส่วนใดถูกทิ้งอย่างสูญเปล่า กล่าวคือ ผลิตภัณฑ์และวัสดุจะถูกเก็บไว้ใช้ซ้ำ ผลิตซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ ตราบเท่าที่ทรัพยากรเหล่านั้นถูกใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

 

Preview
บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามความร่วมมือ ในโครงการส่งเสริมการกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero GHG Emission ด้วยวิธีกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Target: SBT)

เมื่อวันพุธที่ 31 มกราคม 2567 บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) และอีก 19 องค์กรร่วมลงนามความร่วมมือ และพิธีเปิดโครงการส่งเสริมการกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero GHG Emission ด้วยวิธีกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Target: SBT) จัดโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลังงานเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ทางบริษัทฯ จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนทางเทคนิค ได้รับคำปรึกษาด้านการตั้งเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (SBT) และฝึกอบรมเกี่ยวกับเรื่องการรายงาน การคำนวณ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร รวมทั้งแนวทางดำเนินงาน/เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero Pathway และ Net Zero GHG Emission

Preview
ไทยวาโก้ ได้รับผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ระดับ A ประจำปี 2566

บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) ได้รับผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ระดับ A ประจำปี 2566 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ผลการประเมินดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance : ESG)